วันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

นั่งสมาธิต้องมีกำลังใจมากๆยิ่งมากยิ่งดียิ่งแรงยิ่งเร็วเหมือนเราเติมน้ำมันเต็มถัง

ก่อนนั่งสมาธิควรเติมน้ำมันให้เต็มถังก่อนจะได้ไปได้ไกลๆโดยที่น้ำมันไม่หมดกลางทางซะก่อนจะถึงจุดหมายปลายทางที่ตั้งใจ
การนั่งสมาธิผมว่าสิ่งที่สำคัญแรกสุดก่อนนั่ง คือต้องมีกำลังใจครับยิ่งมากยิ่งดีเมื่อนั่งแล้ว จึงเพิ่มความพยายามขึ้นเรื่อยๆอย่าท้อถอย และความอดทนจะตามมาเพราะจะเห็นทุกข์ก่อน สุดท้ายจึงปล่อยวางทุกสิ่งให้เป็นไปตามธรรมชาติทั้งเขาและเราโดยมีสติเป็นที่ตั้งเป็นแค่สิ่งรู้เท่านั้นสติมีหลายขั้นจากสติธรรมดาเลื่อนขึ้นมาเรื่อยๆเป็นมหาสติ ในที่สุดก็เข้าสู่วิมุติสุข คือรู้แต่ไม่ยึด

วันพุธที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

พระโพธิสัตย์กับพระอรหันต์ ต่างกันอย่างไร

@@@พระโพธิสัตย์กับพระอรหันต์ @@@พระอรหันต์นั้นมีจุดมุ่งหมายคือหลุดพ้นเข้าสู่นิพพานไม่ต้องกลับมาเกิดอีกในส่วนเดียวส่วนมากเป็นพระสงฆ์ในไทยเขมรลาวเวียตนามเรานิยมเรียกว่าฝ่ายเถรวาท
 
@@@พระโพธิสัตย์นั้นก็ถือว่าหลุดพ้นจากกิเลสตัณหาแล้วเข้าใจในจิตพระอรหันต์ที่ดับแล้วเข้าสู่นิพพานเหมือนกันแต่เป็นนิพานที่ยังไม่ดับจิตจะเลือกกลับมาเกิดตอนไหนหรือไม่เกิดก็ได้จะเกิดกี่ครั้งก็ได้และจะเกิดเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตแล้วดับจิตเข้าสู่พระนิพพานเลยก็ต่อเมื่อฉุดช่วยสรรพสัตว์ทุกตัวบนโลกนี้จนหมดสิ้นแล้วเท่านั้นจึงจะเข้าพระนิพพาน เรียกว่าคงไว้แค่ความเมตตากรุณา เรานิยมเรียกว่าฝ่าย มหายาน มีมากในประเทศจีน@@@


@@@ดินแดนพระนิพพานแสดงไม่ได้แสดงได้ก็ไม่ใช่แต่ก็ต้องแสดงให้รู้ว่าพระนิพพานไม่ใช่สูญญตามีอยู่จริงเป็นที่อยู่ของพระอรหันต์ พระปัจเจก พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์รวมถึงพระโพธิสัตย์ด้วยเพียงแต่พระโพธิสัตย์ยังมีงานที่ต้องทำส่วนพระอรหันต์จบแล้วบรรลุแล้วไม่ต้องแล้ว ใครอยากเห็นพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ต้องเป็นพระโพธิสัตย์จึงจะได้เห็นได้รู้และสัมผัสดินแดนพระนิพพานเพราะพระโพธิสัตย์ท่านจำเป็นต้องรู้ต้องเห็นกิจลักษณะนั้นเพราะท่านยังมีกิจที่ต้องทำให้เสร็จในพระนิพพานแต่ยังไม่นิพพานเท่านั้น

วันพฤหัสบดีที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2558

กินไม่กินเนื้อสัตว์ คิดเอาเอง

เรื่องนี้มีเฉลยไว้ใน ชีวกสูตร พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มัชฌิมปัณณาส์ หน้า ๔๘- ๕๓ ว่า
สมัยหนึ่ง สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอยู่ที่อัมพวันอันเป็นสวนมะม่วงของหมอชีวกโกมารภัจจ์ ใกล้นครราชคฤห์ หมอชีวิกโกมารภัจจ์ เข้าเฝ้าทูลถามปัญหากะพระองค์ว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าได้สดับมาว่า ชนทั้งหลายฆ่าสัตว์เจาะจงต่อพระองค์ พระองค์ก็ทรงทราบอยู่และเสวยเนื้อที่เขากระทำเพราะอาศัยตนนั้น ฉะนี้ ชนที่กล่าวติเตียนพระผู้มีพระภาคเหล่านั้น ไม่ชื่อว่ากล่าวตู่พระองค์ และชื่อพยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรมอยู่หรือพระเจ้าข้า อนึ่ง เพื่อนสหธรรมิกบางรูปที่กล่าวติเตียนตามวาทะนั้น จะไม่ถึงฐานะอันควรพึงครหาหรือ”
พระผู้มีพระภาคตรัสตอบว่า “ดูกรชีวกชนเหล่านั้นชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยดำไม่จริงไม่ ดูกรชีวิกเรากล่าวว่าเนื้อที่ไม่ควรบริโภคนั้นมีสามสถาน คือ เนื้อที่ได้เห็น ได้ยิน และได้รังเกียจอย่างใดอย่างหนึ่ง แต่เนื้อที่ประกอบด้วยสถานสามเหล่านี้ คือ ตนไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้รังเกียจอย่างใดอย่างหนึ่ง เราตถาคตกล่าว่า เป็นเนื้อที่ควรบริโภค
ดูกรชีวก ภิกษุในศาสนานี้ ย่อมเข้าไปอาศัยบ้าน หรือนิคม แห่งใด แห่งหนึ่งอยู่ เธอย่อมแผ่เมตตาจิตไปสู่ทิศที่หนึ่งแล้วแผ่ไปสู่ทิศที่สอง ที่สาม ที่สี่ เช่นนั้นเหมือนกัน แล้วแผ่เมตตาจิตอันไพบูลย์ใหญ่หาประมาณมิได้ ปราศจากเวรภัยและการเบียดเบียน ไปสู่โลกทั่วทั้งหมด ทั้งเบื้องบนเบื้องล่าง และเบื้องขวางอยู่ ที่นั้นคฤหบดีหรือบุตรแห่งคฤหบดีย่อมเข้าไปหา และนิมนต์ฉันในวันรุ่งขึ้น เมื่อเธอมีประสงค์ก็ย่อมรับ ครั้งราตรีนั้นผ่านพ้นไปแล้วเวลาเช้า เธอก็นุ่งห่มสบง จีวร ถือบาตร เข้าไปสู่เรือนของคฤหบดีหรือบุตรของคฤหบดีนั้น
เมื่อเขาอังคาสเลี้ยงดูเธอด้วยบิณฑบาตประณีต เธอก็มิได้ติดในบิณฑบาตนั้น เมื่อฉันก็ไม่กำหนัดทะเยอทะยาน ย่อมพิจารณาเห็นโทษและคิดจะสลัดออกอยู่เสมอ ชีวกอาการเช่นนี้เธอจะสำคัญว่า ภิกษุนั้นคิดเพื่อเบียดเบียนตนหรือคนอื่น หรือทั้งตนและคนอื่นในเวลานั้นหรือ” เขาทูลว่า “เปล่าเลยพระเจ้าข้า” ตรัสว่า “เธอคิดเพื่อฉันอาหารที่ปราศจากโทษในเวลานั้นมิใช่หรือ” เขาทูลว่า “อย่างนั้นพระเจ้าข้า ข้าพระองค์ได้เคยสดับมาว่า พรหมเป็นผู้มีปกติอยู่ด้วยเมตตาดังนี้ เรื่องนี้ข้าพระองค์ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นองค์พะยาน เพราะพระผู้มีพระภาคก็มีปกติอยู่ด้วยเมตตา” พระองค์ตรัสว่า “ดูกรชีวก ราคะ โทสะ โมหะ อันทำให้คนเบียดเบียนกันและกันนั้น ตถาคตได้ละแล้ว ถอนรากขึ้นแล้ว เหมือนถอนรากตาล ไม่มีวันที่จะเกิดต่อไป” ดังนี้แล้ว จึงตรัสบรรยายในข้อ กรุณา มุทิตา อุเบกขาโดยพิศดารต่อไป
ในที่สุดตรัสว่า “ดูกรหมอชีวก ชนใดที่ฆ่าสัตว์เจาะจงต่อพระตถาคตหรือต่อสาวกของพระตถาคต เขาจะประสพบาปเป็นอันมาก เพราะสถานห้าแต่ละอย่าง ๆ คือ เมื่อเขาสั่งบังคับว่า “ท่านจงไปนำสัตว์โน้นมา” ดังนี้ก็ประสพบาปเป็นอันมากตอนหนึ่ง สัตว์นั้นเมือถูกผูกคอจูงมาได้รับทุกขโทมนัส เขาก็ได้ประสพบาปมากตอนหนึ่ง เมื่อผู้นั้นสั่งบังคับว่า “ท่านจงไปฆ่าสัตว์นั้น” ดังนี้ เขาก็ประสพบาปมากตอนหนึ่ง สัตว์นั้นถูกเขาฆ่าอยู่ได้รับทุกขเวทนาอย่างสาหัส เขาก็ได้ประสพบาปมากตอนหนึ่ง ผู้นั้นนิมนต์ พระตถาคต หรือสาวกของพระตถาคตมาฉันเนื้อเป็นอกัปปิยะนั้นเขาก็ได้ประสพบาปมากตอนหนึ่ง จึงรวมเป็นสถานห้าประการ นี้
พระสงฆ์ไทยนั้นท่านถือหลักตามพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า ว่า การฉันอาหารที่ทำด้วยเนื้อนั้น ถ้าไม่เห็นว่าเขาฆ่าจำเพาะตน ไม่ได้ยินว่าเขาฆ่ามาจำเพาะตน และไม่สงสัยว่าเนื้อนั้นเขาฆ่ามาเพื่อจำเพาะตน ก็เป็นเนื้อที่สมควรฉันได้ แต่ถ้าหากว่า ท่านรู้ ท่านเห็น ท่านได้ยิน และท่านสงสัยว่าเขาฆ่าสัตว์นั้นเพื่อเอาเนื้อมาทำอาหารถวายท่าน เนื้อนั้นเป็นของไม่สมควรแก่สมณบริโภค ฉันแล้วเป็นอาบัติ เป็นโทษ เป็นบาป
ดังนั้นจึงขึ้นอยู่ที่อุบาสก อุบาสิกา ทายก ทายิกา แล้วว่า จะนำอะไรมาถวายพระ เพื่อที่จะได้บุญอันบริสุทธิ์ ไม่ให้เป็นบาปทั้งแก่ตนเองและแก่พระสงฆ์ จากพระสูตรในเบื้องต้นนั้น พระพุทธองค์ตรัสว่า ผู้ที่ฆ่าสัตว์ เจาะจงต่อพระตถาคตหรือสาวกของพระตถาคต เขาย่อมประสพบาปมาก ห้าสถาน เราจึงควรงดเว้นจากการฆ่าสัตว์เพื่อถวายทาน หากประสงค์หรือจำเป็นจริง ๆ ที่จะต้องถวายเนื้อก็ควรเอาเนื้อที่เขาฆ่าแล้วขายทั่วไปหรือเนื้อที่ตายเอง หากหาไม่ได้แล้วก็ไม่ควรถวาย ก็ควรถวายตามมีตามเกิด ก็จะเป็นบุญเป็นกุศลบริสุทธิ์มากแท้จริง.

วันพุธที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2558

วันพุธที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2558

สิ่งสมมุติ เพื่อให้รู้ทันสมมุติ แล้วใช้สมมุติ เพื่อยุติสมมุติ

เมื่อรู้แล้ว ก็รู้ทัน จนไม่อยากรู้ แต่ก็ต้องรู้@@@ ไม่ต้องบรรลุ ไม่ต้องปฏิบัติ @@@เพียงแต่เข้าไปรู้ความเป็นจริงของมัน@@@ ว่าจิตเริ่มต้นนั้นไม่ใช่เราไม่ใช่เขาไม่ใช่ใคร เมื่อมันไม่ใช่อะไรของเรา@@@ มันก็ไม่ใช่คนสั่งให้เราทำโน้นทำนี่ได้เลย@@@เพียงแค่เข้าไปรู้มันไว้แล้ววาง เปรียบเทียบจิตดั่งเดิมนั้นเหมือนพระอาทิตย์มีขึ้นมีลงเราเพียงแค่รู้ว่าให้แสงสว่างและโคจรเท่านั้นไม่สามารถจะไปบังคับเขาได้@@@ ก็วางเขาไว้เป็นธรรมชาติของเขาเองเพียงแค่นั้น@@@แต่เข้าไปรู้ให้จริงว่าเขาเป็นความว่างอันเป็นนามสมมุติ ซึ่งแท้จริงไม่อาจจะกล่าวเป็นสิ่งใดได้@@@ เมื่อรู้ความจริงแล้วก็ปล่อยวางว่างจากสิ่งนั้นแล้วใช้ชีวิตให้รู้ทันสรรพสิ่ง@@@ รู้ทันมารยาจิตปรุงแต่ง รู้ทันธรรมคู่ขนาน ชั่วดีมีจนบาปบุญคุณโทษ @@@ส่วนธรรมที่แท้จริงนั้นไม่มีธรรมคู่ขนานไม่มีธรรมหนึ่งเดียวซึ่งไม่อาจกล่าวได้มีธรรมอะไรเลยในนั้น@@@ธรรมดั่งเดิมในนั้นไม่มีขั้นไม่มีชั้นไม่มีตอนมันมีอยู่ของมันเองในมาแต่เดิมแล้วในทุกผู้ทุกคนทุกชีวิต@@@เพียงแต่เราเข้าไปรู้ไปเปิดมันเลยไม่ต้องเอาอะไรเครื่องมืออะไรเข้าไปงัดไปแงะไปปรุงไปแต่งมันของมันเปิดง่ายๆก็แค่ผลักเข้าไปแค่นั้น อย่าไปทำอะไรให้มันยุ่งยากเลยจะเสียเวลาเป็นกัปเป็นกัลป์ เป็นอสงไขย หลายอสงไขย @@@ก็เพราะว่าเสียเวลาไปหาวิธีการต่างๆแล้วก็ไปหลงติดอยู่อย่างนั้น มันเป็นการก้าวเดินออกจิตแท้ห่างออกไปเรื่อยๆเพียงอยู่แค่ปากประตูเท่านั้นไม่อาจเข้าไปได้@@@ ไม่ต้องใช้ปัญญามากคนโง่ก็ไปได้ คนที่ไปนิพพานได้คนดีคนชั่วคนโง่คนฉลาดไปได้หมด เพียงแต่มีความเห็นที่ถูกต้องเข้าไปเห็นความจริงให้จริงให้แท้แล้วเปิดประตูนั้นไว้แล้วใช้ชีวิตให้รู้ทันจิตปรุงแต่ง หมายถึงรู้จนไม่อยากรู้แต่ก็ต้องรู้ไว้ เพราะแท้จริงนั้นไม่มีอะไรเลย แก่นก็ไม่มีเปลือกก็ไม่มีธรรมก็ไม่มี ความว่างก็ไม่มีความไม่ว่างก็ไม่มี ที่กล่าวออกมาได้นั้นเพียงแต่เป็นของสมมุติทั้งสิ้นเพื่อให้เห็นสมมุติ กล่าวเปรียบเทียบเป็นสิ่งใดล้วนไม่ใช่เลย สิ่งที่ผมเขียนมาทั้งหมดนี้ ก็ไม่ใช่เลย มันเขียนไม่ได้ เขียนได้ก็ไม่ใช่ มันเป็นแค่เพียงสมมุติ ให้คนอื่นได้เห็นในสิ่งที่ตัวเราเห็นสมมุติก็แค่นั้น @@@สิ่งสมมุติเพื่อให้รู้ทันสมมุติ แล้วใช้สมมุติ เพื่อยุติสมมุติ @@@

วันศุกร์ที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2558

กิเลสตัณหาเปรียบเสมือนคนหิวกระหายน้ำ

กิเลสตัณหาเปรียบเสมือนคนหิวกระหายน้ำ แต่กิเลสตัณหานั้นคือน้ำ เธอจะกินหรือไม่กินน้ำนั้นหากกินไป ก็มีสุข แต่ทุกข์มาทีหลัง หากไม่กิน เธอจะต้องหิวกระหายต่อไปอีกลองคิดดู จะทำยังไง

ใจ เป็นตัวก่อภพ ก่อชาติ

ใจ เป็นตัวก่อภพ ก่อชาติ สร้าง อกุศลกรรมต่างๆพอร่างกายตายลงไป ใจมันก็ตายไปด้วย แต่สิ่งที่ใจทิ้งขยะไว้ คือวิบากกรรมที่ติดตามดวงจิตไป เสวยความทุกขเวทนา ใจนั้นไม่ได้ไปเสวยด้วยกับจิตเมื่อจิต ผู้ไม่ได้ก่อ ต้องมารับใช้วิบากกรรมแทนใจ เสร็จสิ้นแล้วในส่วนหนึ่ง วิบากนั้นก็ยังคงอยู่ ก็พาดวงจิตหอบหิ้ว ไปเกิดอีก เป็นอะไรก็แล้วแต่ที่มีเนื้อหนังเอ็นกระดูก วิบากนั้นมันสร้างจากกิเลส ตัณหา อุปาทาน มันกลับมาเกิดใหม่เป็นใจอีกแล้วมันมาสร้าง วิบากกรรม ให้เราอีกแล้ว สัญชาตญาณแห่งจิต มันเกิดความเบื่อหน่ายขึ้นมา ก็หาวิธีหลุดพ้น ดังที่เราท่านๆหากันให้ควักนั่นเอง

นิพพิทาญาณ คือ ญาณเบื่อโลก

นิพพิทาญาณ คือ ญาณเบื่อโลก คือ ปัญญาที่หยั่งรู้เท่าถึงความไม่จีรัง ความมายา ความทุกข์ ความหลงมัวเมาที่เต็มอยู่ในโลก ความรู้สึกที่เบื่อหน่ายเรื่องทางโลกีย์อย่างยิ่ง เบื่อหน่ายเรื่องราวทางโลกอย่างยิ่ง จนละทิ้งบ้านเรือนออกแสวงหาสัจธรรม นี่คือ อาการของนิพพิทาญาณ ซึ่งจะเกิดเมื่อ จิตผู้หนึ่งมีความสงบสุขสงัดทางธรรมมากๆ แล้วหันกลับไปมองทางโลกก็รู้สึกแตกต่างจากความสุขทางธรรมได้แจ้งชัด ชัดเจน จึงหันหลังให้ทางโลก หรือเกิดจากความเบื่อสุดระอา เพราะความทุกข์อย่างยิ่งทางโลก แล้วได้พบธรรมเข้าพอดี เกิดความสงบสุขได้ จิตละจากทางโลกได้ฉับพลันเข้าหาทางธรรมทันทีก่อนที่จะไม่เหลือจิตสมประดี เช่น กรณีหญิงบ้าที่แก้ผ้าเข้าวัดไปหาพระพุทธองค์ สติของนางยังพอมีเหลืออยู่บ้างยังไม่ถึงขนาดขาดหมดไม่สมประดี เมื่อได้พบธรรม ได้พบพระพุทธเจ้า ก็เหมือนมีพระมาโปรดให้ใจชุ่มเย็น ดับความเร่าร้อน แล้วได้สติ เห็นทางธรรมเป็นทางรอด จนได้บรรลุธรรมในที่สุด นี่ก็ต้องมีนิพพิทาญาณเกิดขึ้นก่อน ขอบคุณที่มาสาระดีๆ
สำหรับท่านที่ฝึกสมาธิแล้วไม่ได้ฌาน ย่อมยังผลให้ไม่ได้ญาณด้วย นั่นหมายถึง ไม่เกิดนิพพิทาญาณขึ้นเลย ไม่มีความเบื่อหน่ายเรื่องโลกีย์ถึงขั้นละทิ้งบ้านเรือนเลย บุคคลนั้นแม้ได้เปรียญเก้าประโยค มีความรู้ทางธรรมท่วมหัว ก็ไม่อาจเอาตัวพ้นเสียจากความทุกข์ไปได้ ไม่อาจเอาตัวพ้นเสียจากนรกไปได้ (เพราะไม่บรรลุโสดาบัน ยังต้องเวียนว่ายในสามภพ นั่นหมายถึง นรกด้วย) ดังนั้น บุคคลผู้ฝึกสมาธิ หากไม่ได้ฌาน ก็ไม่ได้ญาณ เมื่อไม่ได้ญาณ นิพพิทาญาณไม่เกิด แล้วจะบรรลุธรรมได้อย่างไร เช่นนี้ นรกย่อมมีอยู่เบื้องหน้าเขาผู้นั้นเป็นแน่แท้ ไม่แปรอื่น ไม่ชาติภพใดก็ชาติภพหนึ่ง ไม่อาจพ้นไปได้ ขอบคุณที่มาสาระดีๆครับ

นิพพาน

นิพพาน ไม่มีที่มาที่ไปไม่มีรูปไม่มีนาม ไม่มีสถานะรูปร่าง หรือเรียกว่าเป็นลักษณะใดๆทั้งสิ้น ไม่มีลักษณะกำหนด ทั้งเรื่องของเวลา แสงสี เสียง และการโคจร เสมือนจุดนั้นเป็นจุดอิ่มตัวที่เป็นอมตะ ก่อนไปกำหนดและหวังล่วงหน้าจะไปไม่ถึงเมื่อถึงแล้วจะเรียกอะไรก็สุดแล้วแต่เรา จะเรียก เรียกว่าถึงร้านซาลาเปา ก็ได้ครับ